วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หน้าผา

เขาชีจรรย์
เขาชีจรรย์ สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี เริ่มมีการกล่าวขานมากขึ้น เมื่อได้มี การจัด สร้างพระพุทธรูปแกะสลักในลักษณะพระพุทธฉายที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 9น้อม เกล้าถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติปีที่ 50 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุลยเดช เป็นพระพุทธรูปแบบประทับนั่งปางมารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสม ล้านนา ความสูง 109 เมตร

ประวัติการสร้าง จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า เขาชีจรรย์ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1/4 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะสูงชันมากยอดเขาสูงที่สุด มีความสูง 248 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 180 เมตรจากระดับพื้นดิน เขาชีจรรย์เป็นหินเนื้อปูนประกอบด้วยหินอ่อนแคลก์ซิลิเกต, รูปเลนส์, ขนาบด้วยหินฟิลไลต์, หินฉนวน, และหินเมต้าเชิร์ต สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปริณายก เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระญาณสังวร เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทรงเสียดายเขาชีจรรย์ที่มีภูมิทัศน์ยิ่งใหญ่สง่างามตามธรรมชาติ แต่กำลังถูกระเบิดทำลายทุกวัน จึงทรงดำริที่จะอนุรักษ์เขาชีจรรย์ให้คงชื่ออยู่คู่กับเขาชีโอนซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตสังฆาวาสของวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ด้วยการสร้างพระพุทธรูปแกะสลัก บนหน้าผาเขาชีจรรย์ ให้เป็นปูชนียสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2527 ถึงพุทธศักราช 2533 คณะกรรมการกำหนดรูปแบบพระพุทธรูปแกะสลักหินหน้าผาเขาชีจรรย์ ซึ่งตั้งโดยคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้กำหนดข้อยุติสร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ขนาดความสูง 109 เมตรหน้าตักกว้าง 70 เมตรฐานบัวหรือบัวบัลลังค์สูง 21 เมตรรวมความสูงขององค์พระและบัลลังค์ทั้งสิ้น 130 เมตรเป็นแบบนูนต่ำ โดยพระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตพระราชทานนามพระพุทธรูปว่า " พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา " มีความหมายว่า " พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรื่องสว่างประเสริฐ ดุจดังมหาวชิระ "

ขั้นตอนการสร้าง การจัดสร้างพระพุทธรูปแกะสลักแบ่งงานเป็น 2 ส่วนคือส่วนที่หนึ่ง การก่อสร้าง
พระพุทธรูปหน้าผาเขาชีจรรย์ และส่วนที่สองคือการตกแต่งภูมิทัศน์รอบองค์พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผา
เขาชีจรรย์ การก่อสร้างสถาบันเทคโนโลยี่แห่งเอเซีย (เอ.ไอ.ที) เป็นผู้ดำเนินการกลั่นกรองบริษัทเอกชน
ที่เหมาะสมในการก่อสร้างซึ่ง ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธ์ศิริ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์
ออกแบบการปรับแต่งผิวหน้า นาย กนก บุญโพธิ์แก้ว รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบองค์พระ
และในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ 2538 นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ได้ว่าจ้างบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บลาสเตอร์ เป็นผู้ทำการก่อสร้างในราคา 43,305,800 บาท
งานระยะแรก เริ่มจากการสำรวจเพื่อการปรับแต่งผิวหน้าผาและเพื่อกำหนดความลึกของลายเส้นของ
องค์พระจากนั้นจึงระเบิดปรับ เกลา และปิดรอยแตกร้าวด้วยวัตถุชนิดเดียวกับหน้าผา จากนั้นงานระยะ
ที่สองทำการสแกนภาพต้นแบบของพระพุทธรูปไว้ในคอมพิวเตอร์แล้วบันทึกโปรแกรมส่งไปยังสแกนเนอร์เพื่อควบคุมการยิงเลเซอร์เพื่อวาดภาพบนเขา ซึ่งการฉายแสงวาดภาพบนเขาต้องทำในเวลากลางคืนเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจนให้คนงานโรยตัวด้วยเชือกลงมาจากยอดเขา แล้วใช้สีฝุ่นวาดแต้มเป็นจุดตามที่แสงเลเซอร์กำหนดไว้การก่อสร้างเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจาก ผิวหน้าผามีการแตกและช้ำมาก และฝนก็ยังได้ตกลงมาทำให้การทำงานมีความเสี่ยงมากขึ้น แต่ในที่สุดก็สามารถเสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และในวันที่ 31 กรกฎาคม 2539 มีการประกอบพิธีน้อมเกล้าถวายพระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ แด่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานมหากรุณาธิคุณเสด็จฯไปทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตรและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระอุระของพระพุทธรูป เพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคลสืบไป
คำแนะนำการเที่ยวชม การเยี่ยมชมสามารถเปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น.- 18.00 น. การเยี่ยมชมควรแต่งกายด้วยความสุภาพ และปฎิบัติตามป้ายเตือนอย่างเคร่งครัด และงดเสียงดัง และควรระวังไม่เข้าใกล้องค์พระเกินกว่าที่กำหนดเพราะอาจเกิดอันตรายจากหินที่อาจล่วงหล่นลงมาได้ สถานที่แห่งนี้จะอยู่ใกล้กับ อเนกกุศลศาลา และวัดญาณสังวราราม ซึ่งสามารถเดินทางระหว่างสถานที่ได้อย่างสะดวก ซึ่งในปัจจุบันพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ แห่งนี้มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมและแวะมาสักการะทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ ซึ่งเราควรช่วยกันดูแลรักษาให้อยู่สืบไป และการเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
ที่ตั้ง เขาชีจรรย์ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี การเข้าถึงทำได้โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3 ซึ่งเป็นทางหลวงจากกรุงเทพฯ-ตราด ทางเข้า เข้าได้ 2 ทาง คือ เลี้ยวซ้ายเข้าวัดญาณสังวรารามมหาวิหารที่ประมาณก่อนถึง กิโลเมตรที่ 161 จากวัดญาณฯ มีทางต่อเชื่อมไปเขาชีจรรย์ ซึ่งอยู่ห่างจาก วัดญาณฯ ประมาณ 6 กิโลเมตร หรือจะเข้าทางวัดหนองจับเต่า เมื่อวิ่งเลย กิโลเมตรที่ 161 มาแล้วก็ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปเป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร ก็จะถึงเขาชีจรรย์
ลักษณะของแหล่ง เขาชีจรรย์เป็นเขาลูกหนึ่งในกลุ่มเขาที่อยู่ใกล้ ๆ กัน รวม 3 ลูก เมื่อมองจากถนนเข้าสู่กลุ่มเขา เขาชีจรรย์จะมีลักษณะคล้ายกรวยคว่ำ ทรงยอดแหลม มีความสูงจากพื้นดิน 180 เมตร หรือ สูงจากระดับน้ำทะเล 248 เมตร ไหล่เขาทางด้านเหนือหรือด้านที่มองจากถนน เคยเป็นสถานที่ที่มีการระเบิดหินเพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้างมาก่อน จึงเปิดให้เห็นเนื้อหิน เป็นหน้าผาค่อนข้างเรียบจนถึงยอดเขา บนหน้าผามีรูปแกะสลักหินเป็นพระพุทธรูปลายเส้น รูปประทับนั่ง ปางมารวิชัย เลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตร ศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ขนาดความสูง 109 เมตร หน้าตักกว้าง 70 เมตร มีฐานบัวสูง 21 เมตร รวมความสูงทั้งหมด 130 เมตร โดยลายเส้นแกะสลักลงในเนื้อหินเป็นร่องลึก ขนาดความกว้าง 30-40 เซนติเมตร ลึก 10 เซนติเมตร ฝังด้วยกระเบื้องโมเสกสีทองเต็มร่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ทรงพระราชทานนามว่า พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา ซึ่งปรากฏให้เห็นเด่นชัด บนหน้าผาจากระยะไกล จัดเป็นพระพุทธรูปแกะสลักในลักษณะพระพุทธฉายที่ใหญ่ที่สุดในโลก พระนามพระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา มีความหมายว่า พระพุทธเจ้า ทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรือง สว่าง ประเสริฐดุจดังมหาวชิระ พระพุทธรูปองค์นี้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้างเป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 9 ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองศิริราชสมบัติเป็นปีที่ 50
ธรณีวิทยา เขาชีจรรย์ประกอบด้วยหินปูนรอยริ้ว (Cleaved limestone) โดยเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนปูนในทะเลตื้นเมื่อประมาณ 280 ล้านปีมาแล้ว หินปูนรอยริ้วนี้ ได้รับอิทธิพลความร้อนจากหินแกรนิตยุคไทรแอสซิก ที่แทรกดันตัวอยู่ข้างใต้และข้างเคียง ทำให้เกิดมีกลุ่มแร่แคลก์ซิลิเกต (Calc - silicate) สีขาว ม่วงน้ำตาล และสีเขียว เรียงตัวเป็นแนวยาวขนานกับรอยริ้วในหินปูน ใกล้กับแนวสัมผัสของหินปูนกับหินแกรนิต จะพบว่ามีกลุ่มแร่สีขาวของแร่โวลลาสโทไนต์ (Wollastonite) เกิดขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้อิทธิพลดังกล่าว ยังทำให้หินปูนรอยริ้ว เกิดการคดโค้ง บิดงอ และเกิดรอยแตก รอยแยก ที่มีความชัน 50-70 องศา ปรากฏทั่วไปตามหน้าผา อันเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถแกะสลักพระพุทธรูปแบบนูนต่ำตามวัตถุประสงค์เดิมได้ จนต้องเปลี่ยนมาเป็นการจัดสร้างแบบลายเส้นตามพระราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกับคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2535 และพระราชทานเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2535
                หน้าผาเขาชีจรรย์ได้รับการปรับแต่งให้เรียบ เสริมความแข็งแรงของรอยแตกรอยแยก ทำร่องระบายน้ำไหล และควบคุมน้ำซึมตลอดรอยเลื่อนของหน้าผา ก่อนที่จะทำการจัดสร้างพระพุทธรูปลายเส้น นอกจากนี้บริเวณรอบองค์พระ บริเวณลานหินหน้าองค์พระ และบริเวณรอบนอกออกมาซึ่งจัดเป็นที่นมัสการองค์พระและส่วนบริการ ได้รับการตกแต่งภูมิทัศน์ก่อสร้างศาลา และทำลานจอดรถสำหรับบริการผู้มาเที่ยวชมเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันเขาชีจรรย์เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และทางศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรีคู่กับวัดญาณสังวรารามมหาวิหาร
http://www.oknb-travel.com/images/column_1247063748/DSCF4334.jpg
เขาชีจรรย์
เขาชีจรรย์
                       
http://www.paiduaykan.com/76_province/east/chonburi/pic/cheechan5.jpg
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม มีเนื้อที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอโขงเจียม  อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่านานาชนิด มีจุดเด่นที่สวยงามตามธรรมชาติมากมาย เช่น ผาชัน น้ำตกสร้อยสวรรค์ เสาเฉลียง ถ้ำปาฏิหารย์ ภูนาทาม เป็นต้น อีกทั้งยังได้มีการค้นพบภาพเขียนสีโบราณ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,000-4,000 ปี ที่บริเวณผาขาม ผาแต้ม ผาเจ็ก ผาเมย และถือได้ว่าเป็นอุทยานแห่งชาติ แห่งแรกในประเทศไทยที่มีแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดน ระหว่างประเทศไทย และประเทศลาวเป็นแนวเขตอุทยานแห่งชาติที่ยาวที่สุด ทำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ป่าเขา ทางฝั่งประเทศลาวได้เป็นอย่างดี
ประวัติความเป็นมา  ในอดีตชาวบ้านท้องถิ่นที่ทำกินในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ป่าภูผา น้อยคนนักที่จะเดินทางเข้าไปในป่าดังกล่าว เนื่องจากมีความเชื่อว่า “ผาแต้มเป็นเขตต้องห้าม ภูผาเหล่านี้มีความศักดิ์สิทธิ์นักเป็นภูผาแห่งความตาย ใครล่วงล้ำเข้าไปมักมีอันเป็นไป อาจเจ็บไข้หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้” พื้นที่ป่าภูผาบริเวณผาแต้มได้ถูกเปิดเผยจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เมื่อคณะอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชามนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากรได้มาทำการสำรวจและค้นพบภาพเขียนสีโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม ท้องที่บ้านกุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบกับสภาพป่าในบริเวณใกล้เคียงยังอุดมสมบูรณ์ จึงได้ทำหนังสือบันทึกจากภาควิชาฯ ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2524 เสนอต่อ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ขอให้จัดตั้งป่าภูผาในบริเวณผาแต้มเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งกองอุทยานแห่งชาติได้ให้ นายเสงี่ยม จันทร์แจ่ม นักวิชาการป่าไม้ 4 ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดงหินกอง (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ) ไปทำการสำรวจหา

http://www.dnp.go.th/MainNation/nationpark/images/e8.gif
  http://www.dnp.go.th/MainNation/nationpark/images/e4.gif


ข้อมูลเพิ่มเติม ปรากฏว่า พื้นที่บริเวณที่ขอให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ อยู่ในบริเวณพื้นที่ป่าภูผา ปรากฏภาพเขียนสีโบราณซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม สภาพป่าบริเวณใกล้เคียงยังไม่ถูกทำลาย และมีจุดเด่นตามธรรมชาติที่สวยงามการคมนาคมสะดวก เหมาะที่จะตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเห็นสมควรผนวก บริเวณดังกล่าวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติดงหินกอง กรมป่าไม้ จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1162/2524 ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2524 ให้นายเสงี่ยม  จันทร์แจ่ม นักวิชาการป่าไม้ 4 หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ (ดงหินกอง)ไปดำเนินการควบคุมดูแลรักษาป่าภูผา โดยให้พิจารณาผนวกเข้ากับอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ โดยได้ประกาศรวมกับบริเวณป่าใกล้เคียงให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าดงภูโหล่น และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 90 ตอนที่ 153 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2526 ต่อมา กรมป่าไม้ได้พิจารณาเห็นว่า พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่คนละส่วนและอยู่ห่างไกลกับอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตลอดจนมีอาณาเขตกว้างขวางเกรงว่า อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ จะดูแลไม่ทั่วถึง และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลตามโครงการอีสานเขียว และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการศึกษาหาความรู้ทางวิชาการ จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 991/2532 ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2532 ให้นายวรพล รันตสุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดง ภูโหล่น ท้องที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษหน้า 90-92 เล่ม 108 ตอนที่ 245 ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2534 มีเนื้อที่ประมาณ 340 ตารางกิโลเมตร หรือ 212,500 ไร่ นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 74 ของประเทศไทย
ข้อมูลทั่วไป  อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นหน่วยงานสังกัดส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ในอดีตชาวบ้านท้องถิ่นทำกินในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ป่าภูผา น้อยคนนักที่จะเดินทางเข้าไปในป่าแห่งนี้  เนื่องจากมีความเชื่อว่า ผาแต้มเป็นเขตต้องห้าม   ภูผาเหล่านั้นมีความศักดิ์สิทธิ์นักเป็นภูผาแห่งความตาย  ใครล่วงล้ำเข้าไปมักมีอันเป็นไปอาจเจ็บไข้   หรือเป็นอันตรายถึงชีวิต   ปัจจุบัน  พื้นที่ป่าภูผาแต้ม  ได้ถูกเปิดเผยจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป  เมื่อคณะอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชามนุษยวิทยามหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มาทำการสำรวจค้นพบภาพเขียนสีโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม ท้องที่บ้านกุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบกับสภาพป่าในบริเวณใกล้เคียงยังอุดมสมบูรณ์อยู่ จึงได้ทำหนังสือบันทึกจากภาควิชาฯ ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2524 เสนอต่อกองอุทยานแห่งชาติกรมป่าไม้ ขอให้จัดตั้งป่าภูผาในบริเวณผาแต้มเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติได้บันทึกสั่งการ ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2524 ให้ นายเสงี่ยม จันทร์แจ่ม นักวิชาการป่าไม้ 4 ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดงหินกอง (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ) ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเพิ่มเติมผลการสำรวจปรากฏรายงาน  ตามหนังสืออุทยานแห่งชาติดงหินกองที่ กส 0708 (ดก) /57 ลงวันที่ 28 สิงหาคม2524 ว่า พื้นที่บริเวณที่ภาควิชามนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากรเสนอขอให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติอยู่ในบริเวณพื้นที่ป่าภูผาปรากฏภาพเขียนสีโบราณ ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม สภาพป่าบริเวณใกล้เคียงยังไม่ถูกทำลาย และมีจุดเด่นตามธรรมชาติที่สวยงามการคมนาคมสะดวกเหมาะที่ตั้งอุทยานแห่งชาติ โดยเห็นควรผนวกบริเวณดังกล่าวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติดงหินกอง
กรมป่าไม้  จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1162/2524 ลงวันที่ 13 กันยายน 2524 ให้นายเสงี่ยม จันทร์แจ่ม นักวิชาการป่าไม้
  4  หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ  (อุทยานแห่งชาติดงหินกองเดิม)  ไปดำเนินการควบคุมดูแลรักษาป่าภูผาโดยให้พิจารณาผนวกเข้ากับ  อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ทั้งนี้บริเวณภูผาดังกล่าวได้ถูกประกาศรวม กับบริเวณป่าใกล้เคียงให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติดงภูโหล่น ตามกฎกระทรวงฉบับที่  603 (พ.ศ.2516) ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2526 ต่อมากรมป่าไม้ได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่คนละส่วน และอยู่ห่างไกลกับอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตลอดจนมีอาณาเขตกว้างขวาง เกรงว่าอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ จะดูแลไม่ทั่วถึง  และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลตาม โครงการอีสานเขียวและกระทรวงเกษตร และสหกรณ์  ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้  เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว  และการศึกษาหาความรู้ทางวิชาการ จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 991/2532 ลงวันที่ 28มิถุนายน2532ให้นายวรพล รัตนสุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติไปดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงภูโหล่นท้องที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เนื้อที่ 340 ตารางกิโลเมตร หรือ 212,500 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติผาแต้มและทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ด้วย กรมป่าไม้โดยกองอุทยานแห่งชาติได้นำเรื่องราวดังกล่าวนี้เสนอต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มติเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 3/2432 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2532 ผ่านมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2534 และได้รับประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษหน้า 90 – 92 เล่มที่ 108 ตอนที่ 245 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2534 ให้เป็นอุทยานแห่งชาติผาแต้มเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 74 ของประเทศไทย ต่อมาได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ให้นายศักดิ์สิทธิ์ พลทรัพย์ศิริ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้  7  หรือ เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส ที่ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานฯ คนที่  2 นายอุทัย พรมนารี นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ  ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ปัจจุบันมีคำสั่งให้นายกวี ประสมพล นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ ผาแต้ม ถึงปัจจุบัน

http://www.paiduaykan.com/76_province/Northeast/ubonratchathani/pic/view2.jpg
http://web3.dnp.go.th/parkreserve/pictures/np/NP19T1P38.JPG
ภูผาเทิบ
                          ภูผาเทิบ จังหวัดมุกดาหารอยู่ในเขตตำบลนาสีณวน บริเวณที่ทำการอุทยานภูผาเทิบห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร ภูผาเทิบอยู่บนเส้นทางสายมุกดาหาร-ดอนตาล ระหว่างกิโลเมตรที่ 14 -15 เลี้ยวขวาเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ภูผาเทิบมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 5.2 ตารางกิโลเมตร ลักษณะโดยทั่วไปเป็นกลุ่มหินรูปทรงหลายแบบวางซ้อนทับกันคล้ายกันเพิงผาที่กันแดดกันลม  ซึ่งภาษาท้องถิ่นเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า เทิบบางอันมีรูปร่างคล้ายร่ม เห็ดขนาดใหญ่ ไอพ่น มงกุฏ ดอกบัวบาน รองเท้าบู๊ท เก๋งจีน สถูป และจานบิน เป็นต้น ภูผาเทิบ เกิดจาก การสันนิษฐานว่าบริเวณกลุ่มหินนี้ แต่ก่อนคงปกคลุมด้วยดิน เป็นภูเขาดิน ต่อมาถูกฝน ลมกัดเซาะพังทลายลงเรื่อย จึงมองเห็นหินโผล่ขึ้นมาเป็นกลุ่มก้อน บนภูผาเทิบอากาศเย็นสบาย
    สถานที่น่าเที่ยวชมภายในอุทยานแห่งชาติมุกดาหาร ได้แก่
              กลุ่มหินเทิบ  การเกิดกลุ่มหินเทิบจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่มาของประติมากรรมธรรมชาติเหล่านี้ล้วนเกิดจากการกัดเซาะของฝน น้ำ ลมและแสงแดด ผ่านกาลเวลามาถึง 120-95 ล้านปีทำให้กลุ่มหินเหล่านี้มีสภาพแตกต่างกันไปดูคล้ายรูปไอพ่น จานบิน เก๋งจีน มงกุฎ หัวจระเข้และหอยสังข์ ซึ่งความคงทนของชั้นหินที่แตกต่างกันก็เนื่องจากการประสานของเนื้อทรายแตกต่างกัน หินทรายชั้นบนที่คงทนมีสีเนื้อหินเป็นสีน้ำตาล มีส่วนประกอบที่เป็นซิลิกาและเม็ดกรวดมาก ส่วนหินทรายชั้นต่ำลงมาที่ไม่คงทนมีสีของเนื้อหินเป็นสีขาวจะมีส่วนผสมของคาร์บอเนตมากสภาพของธรณีวิทยา บริเวณกลุ่มหินเทิบประกอบด้วยหินชั้นของหมวดหินเสาขัวและกลุ่มหินภูพานของกลุ่มหินโคราช มีการลำดับชั้นหินอยู่ในมหายุคมีโซโซอิค ประกอบด้วย หินโคลน หินทราย หินทรายแป้ง และหินกรวดมนหนาประมาณ 200 เมตร
                อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ เดิมชื่อ อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 59 ของประเทศไทยมีเนื้อที่ 48.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 30,312.5 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองมุกดาหารและอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายประกอบด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่หลายลูกติดต่อกัน แบบลูกคลื่นและเป็นส่วนปลายสุดของเทือกเขาภูพาน เทือกเขาเหล่านี้วางตัวในลักษณะแนวเหนือ-ใต้ขนานและห่างจากชายฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ 4 กิโลเมตร ภายในอุทยานฯประกอบด้วยภูหมากยาง ภูมโน ภูโปร่ง ภูรัง ภูจอมนาง ภูหมากมี่ ภูผาเทิบ ภูนางหงส์ ภูถ้ำพระ ภูหลักเสและยอดเขาสูงสุดคือ ยอดภูจอมศรี มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 170-420 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เต็งรัง และป่าเบญจพรรณ และยังเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยหลายสาย เช่น ห้วยตาเหลือก ห้วยสิงห์ ห้วยเรือ ห้วยมะเล ห้วยช้างชน เป็นต้น แถบบริเวณเชิงเขาเป็นป่าไผ่ขึ้นสลับเป็นแนว หลายบริเวณเป็นหน้าผาสูงและลานหินกว้าง มีหินรูปร่างแปลก ๆ มากมาย ลักษณะโดยทั่วไปเป็นกลุ่มหินรูปทรงหลายแบบวางซ้อนทับกันคล้ายกับ เพิงผาที่กันแดดกันลมได้ ซึ่งภาษาท้องถิ่นเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า "เทิบ" บางอันมีรูปร่างคล้ายร่ม เห็ดขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าบริเวณ กลุ่มหินนี้ แต่ก่อนคงปกคลุมด้วยดิน เป็ฯภูเขาดินต่อมาถูกฝน ลมกัดเซาะพังทลายลงเรื่อยจึงมองเห็นหินโผล่ขึ้นมาเป็นกลุ่มก้อน
การเดินทาง
           จากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางมุกดาหาร-ดอนตาล(ทางหลวงหมายเลข 2034) แยกเข้าทางขวามืออีกประมาณ 2 กิโลเมตรจากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางมุกดาหาร-ดอนตาล(ทางหลวงหมายเลข 2034) แยกเข้าทางขวามืออีกประมาณ 2 กิโลเมตรห่างจะถึงที่ทำการอุทยาน ฯ

http://www.annaontour.com/province/mukdahan/phuphaterb/phuphaterb005.gif



http://www.annaontour.com/province/mukdahan/phuphaterb/phuphaterb01.gif



http://www.tongteawthai.com/uploads/ad841e.jpg



                                                                               ดอยผาตั้ง
                   อยู่บนเทือกดอยผาหม่น ในเขตกิ่งอำเภอเวียงแก่น ห่างจากเชียงราย 160 กิโลเมตร และห่างจากกิ่งอำเภอเวียงแก่นตามเส้นทางสายเวียงแก่น-ปางหัด-ผาตั้งประมาณ 27 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวสองฝั่งโขง ไทย-ลาว และทะเลหมอก บนดอยมีหมู่บ้านชาวจีนฮ่อ ม้ง และเย้า โดยเฉพาะชาวจีนฮ่อนั้น อดีตเคยเป็น ส่วนหนึ่งของกองพล 93 ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดอยผาตั้งนี้ ปัจจุบันประกอบอาชีพทางการ เกษตร ปลูกพืชเมืองหนาว เช่น บ๊วย ท้อ สาลี่ แอปเปิ้ล
                    ผาตั้งตั้งอยู่ที่ บ.ผาตั้ง หมู่ 14 ต.ปอ อ.เวียงแก่น เป็นชุมชนชาวจีนฮ่อสังกัดกองทัพที่ 8 กองพล 93 และชาวเขาเผ่าม้ง และเย้าที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่บนเทือกดอยผาหม่น มีอาชีพด้านเกษตรกรรม ปลูกดอกไม้เมืองหนาวสาลี่ ท้อ และชา เหนือหมู่บ้านเป็นจุดสูงสุด ลักษณะเป็นสันเขาคดเคี้ยวมองเห็นทิวเขาสลับซับซ้อน ในช่วงเช้ามีทะเลหมอกที่สวยงามในหน้าหนาวดอกนางพญาเสือโคร่งจะบานสะพรั่งดอยผาตั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชมทะเลหมอกที่ขึ้นชื่อของ จ.เชียงราย มานานแต่การเดินทางค่อนข้างยากลำบาก มีที่กางเต็นท์พักแรม ที่ลานจอดรถ สถานที่กางเต็นท์และร้านอาหาร สามารถไปเที่ยวได้ตลอดปี
                    ประวัติดอยผาตั้ง เดิมเป็นพื้นที่ที่รัฐบาล จัดสรรให้ทหารจีนสังกัดกองพล 93 มาตั้งถิ่นฐาน เช่นเดียวกับที่ดอยแม่สลอง ภายใต้การดูแลอย่างเข้มงวด ทหารกองพล 93 วางกำลังเป็นกองร้อย กระจายกำลังไปตามสันดอยต่างๆ เนื่องจากบริเวณดอยผาตั้งมีช่องเขาที่ใช้ผ่านเข้าออกไปยังประเทศลาวเพียงช่องทางเดียว เรียกว่าช่องประตูผาบ่อง ส่วนด้านอื่นของดอยผาหม่น เป็นหน้าผาสูงชันไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ ที่นี่จึงเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสมรภูมิดอยผาหม่นทหารสังกัดกองพล 93 ได้เข้าเป็นอาสาสมัครร่วมรบ เคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารไทยเมื่อสถานการณ์คลี่คลายมาตรการควบคุมทหารจีนเหล่านี้ก็ผ่อนปรนลงและเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
                   การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัวจาก อ.เชียงของ ใช้เส้นทางเชียงของ-เทิงจากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 1155 ผ่าน อ.เวียงแก่น ไปจนถึงหลัก กม.52 เลี้ยวซ้ายที่สามแยกบ้านปางหัด ไปตามถนนขึ้นดอยผาตั้ง ระยะทาง 15 กม.สภาพถนนเป็นทางลาดยาง แต่มีหลุมบ่อ และสูงชัน ควรใช้รถกระบะแรงดีหรือรถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น เมื่อถึงบ้านผาตั้ง จะพบสามแยกให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1093 (ไปภูชี้ฟ้า) ประมาณ 1 กม.มีทางแยกซ้ายมือขึ้นดอยชันไปยังจุดชมวิวดอยผาตั้ง บนยอดเนิน 103 และช่องประตูผาบ่องระยะทาง 1.5 กม. ถนนสิ้นสุดที่ฐาน ตชด. ต้องเดินเท้าขึ้นเนิน เพื่อชมทิวทัศน์อีก 200 ม.                        
http://www.oceansmile.com/PicThai/North/CHR15-19Jan52/600/IMG_4328.jpg               http://travel.sanook.com/user_picture/s/02472_056.jpg
                                   http://travel.sanook.com/story_picture/b/02472_001.jpg
                              http://travel.sanook.com/story_picture/b/02472_002.jpg

บรรณานุกรม
เขาชีจรรย์ค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก http://www.sattahipbeach.com/sheettoursattahippage13.html
ประวัติเขาชีจรรย์ค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก         
                http://www.rtafa.ac.th/civil/activity/2550/geology/geology50.htm
ประวัติดอยผาตั้งค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก http://www.tongteawthai.com/
ประวัติผาเทิบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก  
                http://www.tongteawthai.com ประวัติผาเทิบ
ผาตั้งค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก http://www.oceansmile.com/N/Chiarai/doiphatang.htm
ผาแต้มค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก  
                 http://web3.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=19&lg=1
ผาเทิบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก  
                  http://www.guidetourthailand.com/mukdahan/places-phuphathoep.php
ผาเทิบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก  
                 http://www.annaontour.com/province/mukdahan/phuphaterb.php
หน้าผาค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก http://travel.sanook.com/adventure/adventure_08742.php






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น