วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โครงเรื่อง ผา

โครงเรื่อง
1ผาเขาชีจรรย์
  1.1ประวัติการสร้าง
  1.2ขั้นตอนการสร้าง
  1.3คำแนะนำการเที่ยวชม
  1.4ลักษณของแหล่ง
  1.5ธรณีวิทยา
2อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
  2.1ประวัติความเป็นมา
  2.1ข้อมูลทั่วไป
3ภูผาเทิบ
  3.1การเดินทาง
4ดอยผาตั้ง
  4.1ประวัติผาตั้ง
  4.2การเดินทาง

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หน้าผา

เขาชีจรรย์
เขาชีจรรย์ สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี เริ่มมีการกล่าวขานมากขึ้น เมื่อได้มี การจัด สร้างพระพุทธรูปแกะสลักในลักษณะพระพุทธฉายที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 9น้อม เกล้าถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติปีที่ 50 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุลยเดช เป็นพระพุทธรูปแบบประทับนั่งปางมารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสม ล้านนา ความสูง 109 เมตร

ประวัติการสร้าง จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า เขาชีจรรย์ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1/4 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะสูงชันมากยอดเขาสูงที่สุด มีความสูง 248 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 180 เมตรจากระดับพื้นดิน เขาชีจรรย์เป็นหินเนื้อปูนประกอบด้วยหินอ่อนแคลก์ซิลิเกต, รูปเลนส์, ขนาบด้วยหินฟิลไลต์, หินฉนวน, และหินเมต้าเชิร์ต สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปริณายก เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระญาณสังวร เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทรงเสียดายเขาชีจรรย์ที่มีภูมิทัศน์ยิ่งใหญ่สง่างามตามธรรมชาติ แต่กำลังถูกระเบิดทำลายทุกวัน จึงทรงดำริที่จะอนุรักษ์เขาชีจรรย์ให้คงชื่ออยู่คู่กับเขาชีโอนซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตสังฆาวาสของวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ด้วยการสร้างพระพุทธรูปแกะสลัก บนหน้าผาเขาชีจรรย์ ให้เป็นปูชนียสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2527 ถึงพุทธศักราช 2533 คณะกรรมการกำหนดรูปแบบพระพุทธรูปแกะสลักหินหน้าผาเขาชีจรรย์ ซึ่งตั้งโดยคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้กำหนดข้อยุติสร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ขนาดความสูง 109 เมตรหน้าตักกว้าง 70 เมตรฐานบัวหรือบัวบัลลังค์สูง 21 เมตรรวมความสูงขององค์พระและบัลลังค์ทั้งสิ้น 130 เมตรเป็นแบบนูนต่ำ โดยพระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตพระราชทานนามพระพุทธรูปว่า " พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา " มีความหมายว่า " พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรื่องสว่างประเสริฐ ดุจดังมหาวชิระ "

ขั้นตอนการสร้าง การจัดสร้างพระพุทธรูปแกะสลักแบ่งงานเป็น 2 ส่วนคือส่วนที่หนึ่ง การก่อสร้าง
พระพุทธรูปหน้าผาเขาชีจรรย์ และส่วนที่สองคือการตกแต่งภูมิทัศน์รอบองค์พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผา
เขาชีจรรย์ การก่อสร้างสถาบันเทคโนโลยี่แห่งเอเซีย (เอ.ไอ.ที) เป็นผู้ดำเนินการกลั่นกรองบริษัทเอกชน
ที่เหมาะสมในการก่อสร้างซึ่ง ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธ์ศิริ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์
ออกแบบการปรับแต่งผิวหน้า นาย กนก บุญโพธิ์แก้ว รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบองค์พระ
และในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ 2538 นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ได้ว่าจ้างบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บลาสเตอร์ เป็นผู้ทำการก่อสร้างในราคา 43,305,800 บาท
งานระยะแรก เริ่มจากการสำรวจเพื่อการปรับแต่งผิวหน้าผาและเพื่อกำหนดความลึกของลายเส้นของ
องค์พระจากนั้นจึงระเบิดปรับ เกลา และปิดรอยแตกร้าวด้วยวัตถุชนิดเดียวกับหน้าผา จากนั้นงานระยะ
ที่สองทำการสแกนภาพต้นแบบของพระพุทธรูปไว้ในคอมพิวเตอร์แล้วบันทึกโปรแกรมส่งไปยังสแกนเนอร์เพื่อควบคุมการยิงเลเซอร์เพื่อวาดภาพบนเขา ซึ่งการฉายแสงวาดภาพบนเขาต้องทำในเวลากลางคืนเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจนให้คนงานโรยตัวด้วยเชือกลงมาจากยอดเขา แล้วใช้สีฝุ่นวาดแต้มเป็นจุดตามที่แสงเลเซอร์กำหนดไว้การก่อสร้างเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจาก ผิวหน้าผามีการแตกและช้ำมาก และฝนก็ยังได้ตกลงมาทำให้การทำงานมีความเสี่ยงมากขึ้น แต่ในที่สุดก็สามารถเสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และในวันที่ 31 กรกฎาคม 2539 มีการประกอบพิธีน้อมเกล้าถวายพระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ แด่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานมหากรุณาธิคุณเสด็จฯไปทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตรและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระอุระของพระพุทธรูป เพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคลสืบไป
คำแนะนำการเที่ยวชม การเยี่ยมชมสามารถเปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น.- 18.00 น. การเยี่ยมชมควรแต่งกายด้วยความสุภาพ และปฎิบัติตามป้ายเตือนอย่างเคร่งครัด และงดเสียงดัง และควรระวังไม่เข้าใกล้องค์พระเกินกว่าที่กำหนดเพราะอาจเกิดอันตรายจากหินที่อาจล่วงหล่นลงมาได้ สถานที่แห่งนี้จะอยู่ใกล้กับ อเนกกุศลศาลา และวัดญาณสังวราราม ซึ่งสามารถเดินทางระหว่างสถานที่ได้อย่างสะดวก ซึ่งในปัจจุบันพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ แห่งนี้มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมและแวะมาสักการะทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ ซึ่งเราควรช่วยกันดูแลรักษาให้อยู่สืบไป และการเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
ที่ตั้ง เขาชีจรรย์ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี การเข้าถึงทำได้โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3 ซึ่งเป็นทางหลวงจากกรุงเทพฯ-ตราด ทางเข้า เข้าได้ 2 ทาง คือ เลี้ยวซ้ายเข้าวัดญาณสังวรารามมหาวิหารที่ประมาณก่อนถึง กิโลเมตรที่ 161 จากวัดญาณฯ มีทางต่อเชื่อมไปเขาชีจรรย์ ซึ่งอยู่ห่างจาก วัดญาณฯ ประมาณ 6 กิโลเมตร หรือจะเข้าทางวัดหนองจับเต่า เมื่อวิ่งเลย กิโลเมตรที่ 161 มาแล้วก็ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปเป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร ก็จะถึงเขาชีจรรย์
ลักษณะของแหล่ง เขาชีจรรย์เป็นเขาลูกหนึ่งในกลุ่มเขาที่อยู่ใกล้ ๆ กัน รวม 3 ลูก เมื่อมองจากถนนเข้าสู่กลุ่มเขา เขาชีจรรย์จะมีลักษณะคล้ายกรวยคว่ำ ทรงยอดแหลม มีความสูงจากพื้นดิน 180 เมตร หรือ สูงจากระดับน้ำทะเล 248 เมตร ไหล่เขาทางด้านเหนือหรือด้านที่มองจากถนน เคยเป็นสถานที่ที่มีการระเบิดหินเพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้างมาก่อน จึงเปิดให้เห็นเนื้อหิน เป็นหน้าผาค่อนข้างเรียบจนถึงยอดเขา บนหน้าผามีรูปแกะสลักหินเป็นพระพุทธรูปลายเส้น รูปประทับนั่ง ปางมารวิชัย เลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตร ศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ขนาดความสูง 109 เมตร หน้าตักกว้าง 70 เมตร มีฐานบัวสูง 21 เมตร รวมความสูงทั้งหมด 130 เมตร โดยลายเส้นแกะสลักลงในเนื้อหินเป็นร่องลึก ขนาดความกว้าง 30-40 เซนติเมตร ลึก 10 เซนติเมตร ฝังด้วยกระเบื้องโมเสกสีทองเต็มร่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ทรงพระราชทานนามว่า พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา ซึ่งปรากฏให้เห็นเด่นชัด บนหน้าผาจากระยะไกล จัดเป็นพระพุทธรูปแกะสลักในลักษณะพระพุทธฉายที่ใหญ่ที่สุดในโลก พระนามพระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา มีความหมายว่า พระพุทธเจ้า ทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรือง สว่าง ประเสริฐดุจดังมหาวชิระ พระพุทธรูปองค์นี้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้างเป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 9 ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองศิริราชสมบัติเป็นปีที่ 50
ธรณีวิทยา เขาชีจรรย์ประกอบด้วยหินปูนรอยริ้ว (Cleaved limestone) โดยเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนปูนในทะเลตื้นเมื่อประมาณ 280 ล้านปีมาแล้ว หินปูนรอยริ้วนี้ ได้รับอิทธิพลความร้อนจากหินแกรนิตยุคไทรแอสซิก ที่แทรกดันตัวอยู่ข้างใต้และข้างเคียง ทำให้เกิดมีกลุ่มแร่แคลก์ซิลิเกต (Calc - silicate) สีขาว ม่วงน้ำตาล และสีเขียว เรียงตัวเป็นแนวยาวขนานกับรอยริ้วในหินปูน ใกล้กับแนวสัมผัสของหินปูนกับหินแกรนิต จะพบว่ามีกลุ่มแร่สีขาวของแร่โวลลาสโทไนต์ (Wollastonite) เกิดขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้อิทธิพลดังกล่าว ยังทำให้หินปูนรอยริ้ว เกิดการคดโค้ง บิดงอ และเกิดรอยแตก รอยแยก ที่มีความชัน 50-70 องศา ปรากฏทั่วไปตามหน้าผา อันเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถแกะสลักพระพุทธรูปแบบนูนต่ำตามวัตถุประสงค์เดิมได้ จนต้องเปลี่ยนมาเป็นการจัดสร้างแบบลายเส้นตามพระราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกับคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2535 และพระราชทานเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2535
                หน้าผาเขาชีจรรย์ได้รับการปรับแต่งให้เรียบ เสริมความแข็งแรงของรอยแตกรอยแยก ทำร่องระบายน้ำไหล และควบคุมน้ำซึมตลอดรอยเลื่อนของหน้าผา ก่อนที่จะทำการจัดสร้างพระพุทธรูปลายเส้น นอกจากนี้บริเวณรอบองค์พระ บริเวณลานหินหน้าองค์พระ และบริเวณรอบนอกออกมาซึ่งจัดเป็นที่นมัสการองค์พระและส่วนบริการ ได้รับการตกแต่งภูมิทัศน์ก่อสร้างศาลา และทำลานจอดรถสำหรับบริการผู้มาเที่ยวชมเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันเขาชีจรรย์เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และทางศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรีคู่กับวัดญาณสังวรารามมหาวิหาร
http://www.oknb-travel.com/images/column_1247063748/DSCF4334.jpg
เขาชีจรรย์
เขาชีจรรย์
                       
http://www.paiduaykan.com/76_province/east/chonburi/pic/cheechan5.jpg
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม มีเนื้อที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอโขงเจียม  อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่านานาชนิด มีจุดเด่นที่สวยงามตามธรรมชาติมากมาย เช่น ผาชัน น้ำตกสร้อยสวรรค์ เสาเฉลียง ถ้ำปาฏิหารย์ ภูนาทาม เป็นต้น อีกทั้งยังได้มีการค้นพบภาพเขียนสีโบราณ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,000-4,000 ปี ที่บริเวณผาขาม ผาแต้ม ผาเจ็ก ผาเมย และถือได้ว่าเป็นอุทยานแห่งชาติ แห่งแรกในประเทศไทยที่มีแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดน ระหว่างประเทศไทย และประเทศลาวเป็นแนวเขตอุทยานแห่งชาติที่ยาวที่สุด ทำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ป่าเขา ทางฝั่งประเทศลาวได้เป็นอย่างดี
ประวัติความเป็นมา  ในอดีตชาวบ้านท้องถิ่นที่ทำกินในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ป่าภูผา น้อยคนนักที่จะเดินทางเข้าไปในป่าดังกล่าว เนื่องจากมีความเชื่อว่า “ผาแต้มเป็นเขตต้องห้าม ภูผาเหล่านี้มีความศักดิ์สิทธิ์นักเป็นภูผาแห่งความตาย ใครล่วงล้ำเข้าไปมักมีอันเป็นไป อาจเจ็บไข้หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้” พื้นที่ป่าภูผาบริเวณผาแต้มได้ถูกเปิดเผยจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เมื่อคณะอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชามนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากรได้มาทำการสำรวจและค้นพบภาพเขียนสีโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม ท้องที่บ้านกุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบกับสภาพป่าในบริเวณใกล้เคียงยังอุดมสมบูรณ์ จึงได้ทำหนังสือบันทึกจากภาควิชาฯ ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2524 เสนอต่อ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ขอให้จัดตั้งป่าภูผาในบริเวณผาแต้มเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งกองอุทยานแห่งชาติได้ให้ นายเสงี่ยม จันทร์แจ่ม นักวิชาการป่าไม้ 4 ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดงหินกอง (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ) ไปทำการสำรวจหา

http://www.dnp.go.th/MainNation/nationpark/images/e8.gif
  http://www.dnp.go.th/MainNation/nationpark/images/e4.gif


ข้อมูลเพิ่มเติม ปรากฏว่า พื้นที่บริเวณที่ขอให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ อยู่ในบริเวณพื้นที่ป่าภูผา ปรากฏภาพเขียนสีโบราณซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม สภาพป่าบริเวณใกล้เคียงยังไม่ถูกทำลาย และมีจุดเด่นตามธรรมชาติที่สวยงามการคมนาคมสะดวก เหมาะที่จะตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเห็นสมควรผนวก บริเวณดังกล่าวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติดงหินกอง กรมป่าไม้ จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1162/2524 ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2524 ให้นายเสงี่ยม  จันทร์แจ่ม นักวิชาการป่าไม้ 4 หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ (ดงหินกอง)ไปดำเนินการควบคุมดูแลรักษาป่าภูผา โดยให้พิจารณาผนวกเข้ากับอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ โดยได้ประกาศรวมกับบริเวณป่าใกล้เคียงให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าดงภูโหล่น และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 90 ตอนที่ 153 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2526 ต่อมา กรมป่าไม้ได้พิจารณาเห็นว่า พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่คนละส่วนและอยู่ห่างไกลกับอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตลอดจนมีอาณาเขตกว้างขวางเกรงว่า อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ จะดูแลไม่ทั่วถึง และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลตามโครงการอีสานเขียว และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการศึกษาหาความรู้ทางวิชาการ จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 991/2532 ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2532 ให้นายวรพล รันตสุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดง ภูโหล่น ท้องที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษหน้า 90-92 เล่ม 108 ตอนที่ 245 ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2534 มีเนื้อที่ประมาณ 340 ตารางกิโลเมตร หรือ 212,500 ไร่ นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 74 ของประเทศไทย
ข้อมูลทั่วไป  อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นหน่วยงานสังกัดส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ในอดีตชาวบ้านท้องถิ่นทำกินในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ป่าภูผา น้อยคนนักที่จะเดินทางเข้าไปในป่าแห่งนี้  เนื่องจากมีความเชื่อว่า ผาแต้มเป็นเขตต้องห้าม   ภูผาเหล่านั้นมีความศักดิ์สิทธิ์นักเป็นภูผาแห่งความตาย  ใครล่วงล้ำเข้าไปมักมีอันเป็นไปอาจเจ็บไข้   หรือเป็นอันตรายถึงชีวิต   ปัจจุบัน  พื้นที่ป่าภูผาแต้ม  ได้ถูกเปิดเผยจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป  เมื่อคณะอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชามนุษยวิทยามหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มาทำการสำรวจค้นพบภาพเขียนสีโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม ท้องที่บ้านกุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบกับสภาพป่าในบริเวณใกล้เคียงยังอุดมสมบูรณ์อยู่ จึงได้ทำหนังสือบันทึกจากภาควิชาฯ ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2524 เสนอต่อกองอุทยานแห่งชาติกรมป่าไม้ ขอให้จัดตั้งป่าภูผาในบริเวณผาแต้มเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติได้บันทึกสั่งการ ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2524 ให้ นายเสงี่ยม จันทร์แจ่ม นักวิชาการป่าไม้ 4 ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดงหินกอง (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ) ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเพิ่มเติมผลการสำรวจปรากฏรายงาน  ตามหนังสืออุทยานแห่งชาติดงหินกองที่ กส 0708 (ดก) /57 ลงวันที่ 28 สิงหาคม2524 ว่า พื้นที่บริเวณที่ภาควิชามนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากรเสนอขอให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติอยู่ในบริเวณพื้นที่ป่าภูผาปรากฏภาพเขียนสีโบราณ ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม สภาพป่าบริเวณใกล้เคียงยังไม่ถูกทำลาย และมีจุดเด่นตามธรรมชาติที่สวยงามการคมนาคมสะดวกเหมาะที่ตั้งอุทยานแห่งชาติ โดยเห็นควรผนวกบริเวณดังกล่าวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติดงหินกอง
กรมป่าไม้  จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1162/2524 ลงวันที่ 13 กันยายน 2524 ให้นายเสงี่ยม จันทร์แจ่ม นักวิชาการป่าไม้
  4  หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ  (อุทยานแห่งชาติดงหินกองเดิม)  ไปดำเนินการควบคุมดูแลรักษาป่าภูผาโดยให้พิจารณาผนวกเข้ากับ  อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ทั้งนี้บริเวณภูผาดังกล่าวได้ถูกประกาศรวม กับบริเวณป่าใกล้เคียงให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติดงภูโหล่น ตามกฎกระทรวงฉบับที่  603 (พ.ศ.2516) ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2526 ต่อมากรมป่าไม้ได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่คนละส่วน และอยู่ห่างไกลกับอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตลอดจนมีอาณาเขตกว้างขวาง เกรงว่าอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ จะดูแลไม่ทั่วถึง  และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลตาม โครงการอีสานเขียวและกระทรวงเกษตร และสหกรณ์  ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้  เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว  และการศึกษาหาความรู้ทางวิชาการ จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 991/2532 ลงวันที่ 28มิถุนายน2532ให้นายวรพล รัตนสุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติไปดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงภูโหล่นท้องที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เนื้อที่ 340 ตารางกิโลเมตร หรือ 212,500 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติผาแต้มและทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ด้วย กรมป่าไม้โดยกองอุทยานแห่งชาติได้นำเรื่องราวดังกล่าวนี้เสนอต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มติเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 3/2432 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2532 ผ่านมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2534 และได้รับประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษหน้า 90 – 92 เล่มที่ 108 ตอนที่ 245 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2534 ให้เป็นอุทยานแห่งชาติผาแต้มเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 74 ของประเทศไทย ต่อมาได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ให้นายศักดิ์สิทธิ์ พลทรัพย์ศิริ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้  7  หรือ เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส ที่ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานฯ คนที่  2 นายอุทัย พรมนารี นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ  ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ปัจจุบันมีคำสั่งให้นายกวี ประสมพล นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ ผาแต้ม ถึงปัจจุบัน

http://www.paiduaykan.com/76_province/Northeast/ubonratchathani/pic/view2.jpg
http://web3.dnp.go.th/parkreserve/pictures/np/NP19T1P38.JPG
ภูผาเทิบ
                          ภูผาเทิบ จังหวัดมุกดาหารอยู่ในเขตตำบลนาสีณวน บริเวณที่ทำการอุทยานภูผาเทิบห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร ภูผาเทิบอยู่บนเส้นทางสายมุกดาหาร-ดอนตาล ระหว่างกิโลเมตรที่ 14 -15 เลี้ยวขวาเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ภูผาเทิบมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 5.2 ตารางกิโลเมตร ลักษณะโดยทั่วไปเป็นกลุ่มหินรูปทรงหลายแบบวางซ้อนทับกันคล้ายกันเพิงผาที่กันแดดกันลม  ซึ่งภาษาท้องถิ่นเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า เทิบบางอันมีรูปร่างคล้ายร่ม เห็ดขนาดใหญ่ ไอพ่น มงกุฏ ดอกบัวบาน รองเท้าบู๊ท เก๋งจีน สถูป และจานบิน เป็นต้น ภูผาเทิบ เกิดจาก การสันนิษฐานว่าบริเวณกลุ่มหินนี้ แต่ก่อนคงปกคลุมด้วยดิน เป็นภูเขาดิน ต่อมาถูกฝน ลมกัดเซาะพังทลายลงเรื่อย จึงมองเห็นหินโผล่ขึ้นมาเป็นกลุ่มก้อน บนภูผาเทิบอากาศเย็นสบาย
    สถานที่น่าเที่ยวชมภายในอุทยานแห่งชาติมุกดาหาร ได้แก่
              กลุ่มหินเทิบ  การเกิดกลุ่มหินเทิบจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่มาของประติมากรรมธรรมชาติเหล่านี้ล้วนเกิดจากการกัดเซาะของฝน น้ำ ลมและแสงแดด ผ่านกาลเวลามาถึง 120-95 ล้านปีทำให้กลุ่มหินเหล่านี้มีสภาพแตกต่างกันไปดูคล้ายรูปไอพ่น จานบิน เก๋งจีน มงกุฎ หัวจระเข้และหอยสังข์ ซึ่งความคงทนของชั้นหินที่แตกต่างกันก็เนื่องจากการประสานของเนื้อทรายแตกต่างกัน หินทรายชั้นบนที่คงทนมีสีเนื้อหินเป็นสีน้ำตาล มีส่วนประกอบที่เป็นซิลิกาและเม็ดกรวดมาก ส่วนหินทรายชั้นต่ำลงมาที่ไม่คงทนมีสีของเนื้อหินเป็นสีขาวจะมีส่วนผสมของคาร์บอเนตมากสภาพของธรณีวิทยา บริเวณกลุ่มหินเทิบประกอบด้วยหินชั้นของหมวดหินเสาขัวและกลุ่มหินภูพานของกลุ่มหินโคราช มีการลำดับชั้นหินอยู่ในมหายุคมีโซโซอิค ประกอบด้วย หินโคลน หินทราย หินทรายแป้ง และหินกรวดมนหนาประมาณ 200 เมตร
                อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ เดิมชื่อ อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 59 ของประเทศไทยมีเนื้อที่ 48.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 30,312.5 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองมุกดาหารและอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายประกอบด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่หลายลูกติดต่อกัน แบบลูกคลื่นและเป็นส่วนปลายสุดของเทือกเขาภูพาน เทือกเขาเหล่านี้วางตัวในลักษณะแนวเหนือ-ใต้ขนานและห่างจากชายฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ 4 กิโลเมตร ภายในอุทยานฯประกอบด้วยภูหมากยาง ภูมโน ภูโปร่ง ภูรัง ภูจอมนาง ภูหมากมี่ ภูผาเทิบ ภูนางหงส์ ภูถ้ำพระ ภูหลักเสและยอดเขาสูงสุดคือ ยอดภูจอมศรี มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 170-420 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เต็งรัง และป่าเบญจพรรณ และยังเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยหลายสาย เช่น ห้วยตาเหลือก ห้วยสิงห์ ห้วยเรือ ห้วยมะเล ห้วยช้างชน เป็นต้น แถบบริเวณเชิงเขาเป็นป่าไผ่ขึ้นสลับเป็นแนว หลายบริเวณเป็นหน้าผาสูงและลานหินกว้าง มีหินรูปร่างแปลก ๆ มากมาย ลักษณะโดยทั่วไปเป็นกลุ่มหินรูปทรงหลายแบบวางซ้อนทับกันคล้ายกับ เพิงผาที่กันแดดกันลมได้ ซึ่งภาษาท้องถิ่นเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า "เทิบ" บางอันมีรูปร่างคล้ายร่ม เห็ดขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าบริเวณ กลุ่มหินนี้ แต่ก่อนคงปกคลุมด้วยดิน เป็ฯภูเขาดินต่อมาถูกฝน ลมกัดเซาะพังทลายลงเรื่อยจึงมองเห็นหินโผล่ขึ้นมาเป็นกลุ่มก้อน
การเดินทาง
           จากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางมุกดาหาร-ดอนตาล(ทางหลวงหมายเลข 2034) แยกเข้าทางขวามืออีกประมาณ 2 กิโลเมตรจากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางมุกดาหาร-ดอนตาล(ทางหลวงหมายเลข 2034) แยกเข้าทางขวามืออีกประมาณ 2 กิโลเมตรห่างจะถึงที่ทำการอุทยาน ฯ

http://www.annaontour.com/province/mukdahan/phuphaterb/phuphaterb005.gif



http://www.annaontour.com/province/mukdahan/phuphaterb/phuphaterb01.gif



http://www.tongteawthai.com/uploads/ad841e.jpg



                                                                               ดอยผาตั้ง
                   อยู่บนเทือกดอยผาหม่น ในเขตกิ่งอำเภอเวียงแก่น ห่างจากเชียงราย 160 กิโลเมตร และห่างจากกิ่งอำเภอเวียงแก่นตามเส้นทางสายเวียงแก่น-ปางหัด-ผาตั้งประมาณ 27 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวสองฝั่งโขง ไทย-ลาว และทะเลหมอก บนดอยมีหมู่บ้านชาวจีนฮ่อ ม้ง และเย้า โดยเฉพาะชาวจีนฮ่อนั้น อดีตเคยเป็น ส่วนหนึ่งของกองพล 93 ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดอยผาตั้งนี้ ปัจจุบันประกอบอาชีพทางการ เกษตร ปลูกพืชเมืองหนาว เช่น บ๊วย ท้อ สาลี่ แอปเปิ้ล
                    ผาตั้งตั้งอยู่ที่ บ.ผาตั้ง หมู่ 14 ต.ปอ อ.เวียงแก่น เป็นชุมชนชาวจีนฮ่อสังกัดกองทัพที่ 8 กองพล 93 และชาวเขาเผ่าม้ง และเย้าที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่บนเทือกดอยผาหม่น มีอาชีพด้านเกษตรกรรม ปลูกดอกไม้เมืองหนาวสาลี่ ท้อ และชา เหนือหมู่บ้านเป็นจุดสูงสุด ลักษณะเป็นสันเขาคดเคี้ยวมองเห็นทิวเขาสลับซับซ้อน ในช่วงเช้ามีทะเลหมอกที่สวยงามในหน้าหนาวดอกนางพญาเสือโคร่งจะบานสะพรั่งดอยผาตั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชมทะเลหมอกที่ขึ้นชื่อของ จ.เชียงราย มานานแต่การเดินทางค่อนข้างยากลำบาก มีที่กางเต็นท์พักแรม ที่ลานจอดรถ สถานที่กางเต็นท์และร้านอาหาร สามารถไปเที่ยวได้ตลอดปี
                    ประวัติดอยผาตั้ง เดิมเป็นพื้นที่ที่รัฐบาล จัดสรรให้ทหารจีนสังกัดกองพล 93 มาตั้งถิ่นฐาน เช่นเดียวกับที่ดอยแม่สลอง ภายใต้การดูแลอย่างเข้มงวด ทหารกองพล 93 วางกำลังเป็นกองร้อย กระจายกำลังไปตามสันดอยต่างๆ เนื่องจากบริเวณดอยผาตั้งมีช่องเขาที่ใช้ผ่านเข้าออกไปยังประเทศลาวเพียงช่องทางเดียว เรียกว่าช่องประตูผาบ่อง ส่วนด้านอื่นของดอยผาหม่น เป็นหน้าผาสูงชันไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ ที่นี่จึงเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสมรภูมิดอยผาหม่นทหารสังกัดกองพล 93 ได้เข้าเป็นอาสาสมัครร่วมรบ เคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารไทยเมื่อสถานการณ์คลี่คลายมาตรการควบคุมทหารจีนเหล่านี้ก็ผ่อนปรนลงและเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
                   การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัวจาก อ.เชียงของ ใช้เส้นทางเชียงของ-เทิงจากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 1155 ผ่าน อ.เวียงแก่น ไปจนถึงหลัก กม.52 เลี้ยวซ้ายที่สามแยกบ้านปางหัด ไปตามถนนขึ้นดอยผาตั้ง ระยะทาง 15 กม.สภาพถนนเป็นทางลาดยาง แต่มีหลุมบ่อ และสูงชัน ควรใช้รถกระบะแรงดีหรือรถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น เมื่อถึงบ้านผาตั้ง จะพบสามแยกให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1093 (ไปภูชี้ฟ้า) ประมาณ 1 กม.มีทางแยกซ้ายมือขึ้นดอยชันไปยังจุดชมวิวดอยผาตั้ง บนยอดเนิน 103 และช่องประตูผาบ่องระยะทาง 1.5 กม. ถนนสิ้นสุดที่ฐาน ตชด. ต้องเดินเท้าขึ้นเนิน เพื่อชมทิวทัศน์อีก 200 ม.                        
http://www.oceansmile.com/PicThai/North/CHR15-19Jan52/600/IMG_4328.jpg               http://travel.sanook.com/user_picture/s/02472_056.jpg
                                   http://travel.sanook.com/story_picture/b/02472_001.jpg
                              http://travel.sanook.com/story_picture/b/02472_002.jpg

บรรณานุกรม
เขาชีจรรย์ค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก http://www.sattahipbeach.com/sheettoursattahippage13.html
ประวัติเขาชีจรรย์ค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก         
                http://www.rtafa.ac.th/civil/activity/2550/geology/geology50.htm
ประวัติดอยผาตั้งค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก http://www.tongteawthai.com/
ประวัติผาเทิบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก  
                http://www.tongteawthai.com ประวัติผาเทิบ
ผาตั้งค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก http://www.oceansmile.com/N/Chiarai/doiphatang.htm
ผาแต้มค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก  
                 http://web3.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=19&lg=1
ผาเทิบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก  
                  http://www.guidetourthailand.com/mukdahan/places-phuphathoep.php
ผาเทิบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก  
                 http://www.annaontour.com/province/mukdahan/phuphaterb.php
หน้าผาค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2555 จาก http://travel.sanook.com/adventure/adventure_08742.php






วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

เขียนบรรณานุกรม

ไอแซคสัน, วอลเตอร์.  (2554).  สตีฟ จ็อบส์.  (ณงลักษณ์ จารุวัฒน์ และคณะ, ผู้แปล).  [ม.ป.ท.] : เนชั่นบุ๊คส์.

ชนะ เทศทอง.  [ม.ป.ป.].  เปิดร้านออนไลน์[ม.ป.ท.: ม.ป.พ.].

เปรมศิริ ฤทัยเจตน์เจริญ, วรนุช เจียมรจนานนท์, & ประกายดาว แบ่งสันเทียะ.  (2554).  เอสซีจี โมเดล:
            ถอดบทเรียนกลยุทธ์ฝ่าวิกฤตมหาอุทกภัย.  [ม.ป.ท.]: กรุงเทพธุรกิจ.

Tate, Marsha Ann.  (2010).  Web wisdom: How to evaluate and create information quality on the
            web.  2nd ed.  Boca Raton, FL: CRC Press.

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กังฟูแพนด้า

1.เป็นตัวของตัวเอง
2.เดินตามฝันที่เราตั้งไวแล้วจะทำให้ฝันเป็นจริงเหมือนหมี
3.หมีเพราะเก่งและกล้าที่จะทำในสิ่งที่ตนอยากทำ
4. หนึ่งมักจะพบกับชะตากรรมของเขาบนถนนเขาจะใช้เวลาเพื่อหลีกเลี่ยงมัน
เพื่อให้สิ่งที่พิเศษคุณเพียงแค่ต้องเชื่อว่ามันพิเศษ
พอพูดคุยให้ต่อสู้!
ไม่มีสิ่งดังกล่าวเป็นศูนย์ระดับ
ฉันได้รับความภาคภูมิใจของคุณ และมันก็เป็นความภาคภูมิใจของฉันที่ฉันตาบอด
ทำได้ดีถ้านักเรียน ...* * * * * คุณพยายามที่จะผิดหวังฉัน
คุณอาจต้องการสำหรับแอปเปิ้ลหรือส้ม แต่คุณจะได้รับพีช
เมื่อวานนี้เป็นประวัติศาสตร์ในวันพรุ่งนี้เป็นปริศนา แต่วันนี้เป็นของขวัญ นั่นคือเหตุผลที่เรียกว่า"ปัจจุบัน"
จิตใจของคุณเป็นเหมือนน้ำนี้เพื่อนของฉัน เมื่อมันตื่นเต้นมันจะกลายเป็นยากที่จะเห็น แต่ถ้าคุณให้มันไปเพื่อชำระ, คำตอบที่ชัดเจน

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554


ทดสอบ

มาตรฐานเว็บนักศึกษา

  • ตั้งชื่อเว็บโดยขึ้นต้นด้วย IL254คาบเรียน-ชื่อจริง (ภาษาอังกฤษ)
  • เมนูด้านข้างต้องประกอบด้วย Gadget ต่อไปนี้ คือ ข้อความแนะนำตัว, ลิงก์ และป้ายกำกับ โดยให้ข้อความแนะนำตัวขึ้นเป็นรายการแรก
  • ภายใต้ Gadget ลิงก์ ให้มีลิงก์ของเว็บต่อไปนี้ คือ เว็บอาจารย์Mediafire,GooleDocsCkassmarker
  • แก้ไขโปรไฟล์โดยการใส่ภาพถ่าย 
  • ห้ามโพสต์ภาพและข้อความที่ไม่เหมาะสม
  • การ Copy ภาพและข้อความจากเว็บอื่น  ให้ระบุที่มาและ Copy ลิงก์ของเว็บต้นแหล่งมาไว้ให้ทราบด้วย
(คาบเรียน MM MA)